website-logo

In Vitro Fertilization (IVF)

(การรักษาโดยนำเซลล์สืบพันธุ์ของฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงมาผสมเป็นจนตัวอ่อนภายนอกร่างกาย)

[object Object]-treatment-header

คือ นำเซลล์สืบพันธุ์ของฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงมาผสมเป็นจนตัวอ่อนภายนอกร่างกาย จากนั้นจึงย้ายตัวอ่อนกลับเข้าไปในมดลูกชองฝ่ายหญิงเพื่อทำให้ตั้งครรภ์ต่อไป

เทคโนโลยีการทำเด็กหลอดแก้วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง คือ

  • รักษาภาวะมีบุตรยากที่มีสาเหตุซับซ้อน เช่น ผู้หญิงมีอายุมาก ผู้หญิงมีท่อนำไข่ตัน หรือ ผู้ชายมีน้ำเชื้อน้อย เป็นต้น
  • วางแผนครอบครัว เช่น การเก็บรักษาตัวอ่อนโดยการแช่แข็งสำหรับครอบครัวที่วางแผนจะมีลูกหลายคน หรือการเก็บรักษาเซลล์ไข่ในผู้หญิงโสดที่ต้องการตั้งครรภ์เมื่อตนเองพร้อม เป็นต้น

ขั้นตอนการรักษา In Vitro Fertilization

ขั้นตอนเตรียมความพร้อม

พบแพทย์เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย เตรียมความพร้อมเบื้องต้น โดยฝ่ายชายต้องตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย และคุณภาพน้ำอสุจิเบื้องต้น ส่วนฝ่ายหญิงต้องตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ฮอร์โมนพื้นฐานเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และอัลตราซาวด์มดลูก/รังไข่

ขั้นตอนตรวจความพร้อม

เข้ามาพบแพทย์ในวันที่มีรอบเดือน วันที่ 1-3 เพื่อตรวจความพร้อมในการกระตุ้นไข่ของรอบเดือนนั้น โดยการอัลตราซาวด์มดลูก/รังไข่ และตรวจฮอร์โมนพื้นฐานอีกครั้งหนึ่ง หากทุกอย่างอยู่ในเกณฑ์ปกติก็จะสามารถฉีดยากระตุ้นให้ไข่โตได้

ขั้นตอนฉีดยากระตุ้นใข่ (ทำเองที่บ้าน)

การฉีดยากระตุ้นให้ไข่โตจะต้องฉีดทุกวัน โดยแพทย์มักจะนัดตรวจติดตามการกระตุ้นไข่หลังจากการฉีดยาครั้งแรก 3 วัน 6 วัน และ 9 วันตามลำดับ ซึ่งแพทย์จะอัลตราซาวด์มดลูก/รังไข่ และตรวจฮอร์โมนพื้นฐานเพื่อดูการตอบสนองของฟองไข่ทุกครั้ง เมื่อฟองไข่โตได้ขนาดที่เหมาะสม แพทย์จะฉีดยากระตุ้นให้ตก และนัดเก็บไข่ในอีก 36 ชั่วโมงให้หลัง

ขั้นตอนการเก็บใข่

ในวันเก็บไข่ ฝ่ายหญิงจะต้องงดน้ำ งดอาหาร ก่อนการเก็บไข่อย่างน้อย 6 ชั่วโมง เนื่องจากจะต้องมีการดมยาสลบระหว่างการเก็บไข่ การเก็บไข่จะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง และหลังจากนั้นฝ่ายหญิงจะต้องนอนรอดูอาการในห้องพักฟื้นอีก 2 ชั่วโมงจึงจะกลับบ้านได้ ส่วนฝ่ายชายต้องมาเก็บน้ำเชื้อในวันเดียวกัน เพื่อจะได้นำไปปฏิสนธิกับไข่ต่อไป

ขั้นตอนการเลี้ยงตัวอ่อน

หลังการเก็บไข่นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะบ่มไข่ในตู้เลี้ยงตัวอ่อนประมาณ 1.5 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มอัตราการสุกของไข่ (oocyte maturation) จากนั้นจะนำเซลล์ไข่ไปละลายเซลล์พี่เลี้ยงออก (oocyte denudation) เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการปฏิสนธิ

ขั้นตอนการเลือกตัวอ่อน

ทางห้องปฏิบัติการณ์จะปฏิสนธิด้วยวิธีเลือกตัวอสุจิเพื่อมาผสมกับไข่แบบ 1:1 (ICSI; Intracytoplasmic sperm injection) เป็นหลัก โดยจะทำการปฏิสนธิหลังการเก็บไข่ประมาณ 4 ชั่วโมง และนำเข้าไปเลี้ยงในตู้เลี้ยงตัวอ่อนต่อไป

ขั้นตอนการเลือกตัวอ่อน

นักวิทยาศาสตร์จะตรวจผลลัพธ์ของการปฏิสนธิหลังจากผสม 16-18 ชั่วโมง และเลี้ยงตัวอ่อนเหล่านั้นต่อจนกระทั่งถึงอายุ 3 วัน จึงจะดูคุณภาพของตัวอ่อนอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับเจาะเปลือกตัวอ่อน (Assisted hatching) ในตัวอ่อนของคนไข้ที่จะต้องดึงเซลล์เพื่อไปตรวจพันธุกรรม (Preimplantation genetic testing) ในระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) หลังจากนั้นก็จะนำตัวอ่อนเก็บในตู้เลี้ยงตัวอ่อนตามเดิม

เมื่อถึงระยะวันที่ 5 หลังจากเก็บไข่ ตัวอ่อนที่พร้อมฝังตัวจะกลายเป็นตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จะแช่แข็งตัวอ่อน (Embryo freezing) เหล่านั้นต่อไป แต่ในกรณีที่คู่สามีภรรยาจำเป็นต้องตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน นักวิทยาศาสตร์จะดึงเซลล์ตัวอ่อนบางส่วน (Embryo biopsy) เพื่อส่งตรวจพันธุกรรม และแช่แข็งตัวอ่อนเหล่านั้นต่อไป

ขั้นตอนนัดเช็คความพร้อมมีบุตร

ในเดือนที่คู่สามีภรรยาพร้อมที่จะมีบุตร ฝ่ายหญิงต้องเดือนทางมาพบแพทย์ในวันที่ 1-3 ของรอบเดือนเพื่อเตรียมผนังโพรงมดลูกให้พร้อมสำหรับการฝังตัว ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้การกินยา, แปะยา และสอดยาประมาณ 17 วัน ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว แพทย์จะนัดเข้ามาตรวจภายใน และอัลตราซาวน์เพื่อความพร้อมเป็นระยะ หลังจากนั้นจึงจะนัดใส่ตัวอ่อน

ขั้นตอนใส่ตัวอ่อน

  • ในวันใส่ตัวอ่อนนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะละลายตัวอ่อน 4 ชั่วโมงก่อนใส่ เพื่อให้ตัวอ่อนคืนสภาพพร้อมกับการฝังตัวมากที่สุด
  • ฝ่ายหญิงที่จะใส่ตัวอ่อนต้องกลั้นปัสสาวะพอประมาณ เนื่องจากแพทย์จะต้องอัลตราซาวน์ทางหน้าท้องขณะใส่ตัวอ่อนเพื่อจะได้ทราบตำแหน่งที่แน่นอนของตัวอ่อนที่ใส่
  • หลังใส่ตัวอ่อนฝ่ายหญิงจะนอนพักในห้องพักฟื้นประมาณ 2 ชั่วโมง ก่อนจะกลับบ้าน

ขั้นตอนนัดตรวจหลังใส่ตัวอ่อน

แพทย์จะนัดตรวจการตั้งครรภ์ประมาณ 7-8 วัน หลังใส่ตัวอ่อน และเมื่อตั้งครรภ์แพทย์จะนัดดูแลเพื่อฝากครรภ์ต่อไป

สรุป

จะเห็นได้ว่ากระบวนการการทำเด็กหลอดแก้ว มีความซับซ้อน และมีรายละเอียดที่เยอะมาก ฉะนั้นจึงมีโอกาสผิดพลาดได้สูงหากผู้ปฏิบัติงานขาดประสบการณ์ ฉะนั้นนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อนของศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากดิโอไนซุสทุกคน จะต้องได้รับการรับรองจากสมาคมนักเพาะเลี้ยงตัวอ่อนของประเทศไทย (Association of Thai Embryologists) ทุกคน และมีการสอบวัดระดับความรู้ ความชำนาญ ภายในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ

Copyright © 2025 DIFA.co.th

Dionysus International Fertility Administration